จาคสัมปทา

จาคสัมปทา

พ๎ยัคฆปัชชะ ! จาคสัมปทา เป็นอย่างไรเล่า ? พ๎ยัคฆปัชชะ! กุลบุตร
ในกรณีนี้ มีใจปราศจากความตระหนี่อันเป็นมลทิน อยู่ครองเรือน มีจาคะอัน
ปล่อยอยู่เป็นประจำ มีฝ่ามืออันชุ่มเป็นปกติ ยินดีแล้วในการสละ ควรแก่
การขอ ยินดีแล้วในการจำแนกทาน. พ๎ยัคฆปัชชะ ! นี้เรียกว่า จาคสัมปทา.

อริยสัจจากพระโอษฐ์ ๒
ภาค ๔ ว่าด้วย มัคคอริยสัจ ความจริงอันประเสริฐคือมรรค
หน้าที่ ๑๑๐๗/๑๕๗๒

[toggle_container keep_open=”false” initial_open=”3″]

[toggle title=”1″]คุณสมบัติพระโสดาบัน (นัยที่ ๒)

ช่างไม้ทั้งหลาย ! อริยสาวกผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ ย่อมเป็นพระโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงแท้ที่จะตรัสรู้ในเบื้องหน้า.

ธรรม ๔ ประการนั้น เป็นอย่างไรเล่า ? ๔ ประการ คือ :- อริยสาวกในธรรมวินัยนี้
(๑) ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า
(๒) ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรม
(๓) ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์
(๔) มีใจปราศจากความตระหนี่อันเป็นมลทิน มีจาคะ อันปล่อยแล้ว มีฝ่ามืออันชุ่ม ยินดีในการสละ ควรแก่การขอ ยินดีในการจำแนกทาน อยู่ครองเรือน.
ช่างไม้ ทั้งหลาย ! อริยสาวกผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการเหล่านี้ แล ย่อมเป็นพระโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงแท้ที่จะตรัสรู้ในเบื้องหน้า.
คู่มือโสดาบัน หน้า ๒๑๕
มหาวาร. สํ. ๑๙/๓๕๒/๑๔๕๑.[/toggle]

[toggle title=”2″]คู่บุพเพสันนิวาส

ภิกษุทั้งหลาย ! ถ้าภรรยาและสามีทั้งสองพึงหวังพบกันและกันทั้งในปัจจุบัน และในสัมปรายภพ ทั้งสองเทียว พึงเป็นผู้มีศรัทธาเสมอกัน มีศีลเสมอกัน มีจาคะเสมอกัน มีปัญญาเสมอกัน ภรรยาและสามีทั้งสองนั้น ย่อมได้พบกันและกันทั้งในปัจจุบัน ทั้งในสัมปรายภพ.

ภรรยาและสามีทั้งสอง เป็นผู้มีศรัทธา รู้ความประสงค์ของผู้ขอ มีความสำรวม เป็นอยู่โดยธรรม เจรจาถ้อยคำที่น่ารักแก่กันและกัน ย่อมมีความเจริญรุ่งเรืองมาก มีความผาสุกทั้งสองฝ่าย มีศีลเสมอกัน รักใคร่กันมาก ไม่มีใจร้ายต่อกัน ประพฤติธรรมในโลกนี้แล้ว ทั้งสองเป็นผู้มีศีลและวัตรเสมอกัน ย่อมเป็นผู้เสวยกามารมณ์ เพลิดเพลินบันเทิงใจอยู่ในเทวโลก.

ฆราวาสชั้นเลิศ หน้า ๗๙
(ภาษาไทย) จตุกฺก. อํ. ๒๑/๖๑/๕๖.[/toggle]

[toggle title=”3″]ภิกษุทั้งหลาย ! อริยสาวก เจริญอยู่ด้วยความเจริญ ๑๐ อย่าง ชื่อว่า ย่อมเจริญด้วย ความเจริญของพระอริยเจ้า ด้วย และเป็นผู้ ถือเอาแก่นสารและความประเสริฐทางฝ่ายกาย (วัตถุ) ได้ด้วย. สิบอย่าง อย่างไรเล่า? สิบอย่างคือ : –
ย่อมเจริญด้วยนาและสวน,
ย่อมเจริญด้วยทรัพย์และข้าวเปลือก,
ย่อมเจริญด้วยบุตรและภรรยา,
ย่อมเจริญด้วยทาสและกรรมกรที่เต็มขนาดแห่งบุรุษ,
ย่อมเจริญด้วยสัตว์สี่เท้า,
ย่อมเจริญด้วยสัทธา,
ย่อมเจริญด้วยศีล,
ย่อมเจริญด้วยสุตะ,
ย่อมเจริญด้วยจาคะ,
ย่อมเจริญด้วยปัญญา.
ภิกษุ ทั้งหลาย ! อริยสาวก เจริญอยู่ด้วยความเจริญ ๑๐ อย่างเหล่านี้แล ชื่อว่าย่อมเจริญด้วยความเจริญของพระอริยเจ้าด้วย และเป็นผู้ถือเอาแก่นสารและความประเสริฐทางฝ่ายกายได้ด้วย.

บุคคลใด ในโลกนี้ ย่อมเจริญด้วยทรัพย์ ข้าวเปลือก บุตร ภรรยา และสัตว์สี่เท้า, บุคคลนั้น ย่อมเป็นผู้มีโชค มียศ เป็นที่บูชาของญาติมิตรและแม้ของพระราชา.

บุคคล ใดในโลกนี้ ย่อมเจริญด้วยสัทธา ศีล ปัญญา จาคะ สุตะ อันเป็นความเจริญทั้งสองฝ่าย, บุคคลเช่นนั้น เป็นสัตบุรุษ มีปัญญาเห็นโดยประจักษ์ ย่อมเจริญด้วยความเจริญทั้งสองฝ่าย ในทิฏฐธรรมนี้, ดังนี้แล.
อริยสัจจากพระโอษฐ์ ภาคปลาย หน้า ๑๐๑๒
(ภาษาไทย) ทสก.อํ. ๒๔/๑๒๑/๗๔.[/toggle]

[/toggle_container]

About เนื้อแท้ที่ไม่อันตธาน

เนื้อแท้ที่ไม่อันตธาน